คำถามที่พบบ่อย

 

ซีลไฮโดรลิค

อายุการใช้งานของซีลมีปัจจัยแวดล้อมมากมาย เช่น ชั่วโมงการใช้งานต่อวัน หากเครื่องจักรทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ก็จะทำให้อายุของซีลสั้นลง ทั้งนี้อายุการใช้งานของซีลแต่ละตัว จะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการใช้งาน (Cycle Time) ความร้อน และความสะอาดของน้ำมันในระบบ ทั้งหมดนี้จะเป็นตัวแปรที่ทำให้มีผลกับอายุการใช้งานของซีล จึงไม่มีตัวเลขตายตัวที่จะบ่งบอกถึงอายุการใช้งานของซีลได้
ควรเก็บซีลไว้ในที่แห้ง สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส ไม่ควรให้ถูกแสงโดยตรง เท่านี้ก็จะสามารถรักษาคุณภาพของซีลก่อนการใช้งานได้ยาวนาน
วัสดุแต่ละชนิดจะมีข้อดีและข้อด้อยต่างกันออกไป แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน เช่น วัสดุที่ทำด้วยยางจะมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้งานได้ดีกับลักษณะงานแรงดันต่ำ (Low Pressure) แต่ถ้านำไปใช้งานกับงานแรงดันสูง(High Pressure) ก็จะทนทานสู้วัสดุที่ทำจากโพลียูรีเทนไม่ได้ อีกทั้งโพลียูรีเทนก็ยังสามารถทนการสึกหรอที่เกิดจากการเสียดสี (Wear Resistant) ได้ดีกว่า จึงเห็นได้ว่าผู้ผลิตซีลส่วนใหญ่หันมาผลิตซีลที่ทำจากวัสดุโพลียูรีเทนมากขึ้น รวมถึงลักษณะงานที่ใช้กับลม (Pneumatic) ซึ่งมีแรงดันต่ำ (Low Pressure) ก็นิยมใช้วัสดุุโพลียูรีเทนมาผลิตเป็นซีลเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงค่าความแข็งของวัสดุนั้น ๆ ด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่
ในการผลิตซีลมาตรฐานทั่วไปที่ทำจากวัสดุโพลียูรีเทน จะใช้วิธีการขึ้นโมลด์แล้วฉีดเป็นวงและก็มีผู้ผลิตบางรายใช้วิธีการหล่อขึ้นรูปจากโพลียูรีเทนเหลวเช่นเดียวกันกับวัสดุโพลียูรีเทนแท่งที่ทางสเป็คซีลคัดสรรเป็นพิเศษและนำเข้ามา ส่วนมากจะใช้วิธีการขึ้นโมลด์แล้วฉีดเป็นแท่งและนำมากลึงให้ได้เป็นซีลสำเร็จรูป แต่ทั้งนี้ก็จะมีวัสดุบางขนาดที่มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการหล่อขึ้นรูป เพราะมีข้อจำกัดของขนาดและน้ำหนักของวัสดุในการฉีด ซึ่งทางผู้ผลิตก็ควบคุมให้ได้คุณภาพใกล้เคียงกับวัสดุที่ผลิตด้วยการฉีด ฉะนั้นกรรมวิธีในการผลิตวัสดุไม่ว่าจะเป็นซีลสำเร็จรูปหรือซีลที่้ได้มาจากการกลึง จึงมีกรรมวิธีการคล้ายคลึงกัน แต่ต้องเพิ่มขั้นตอนรายละเอียดการกลึงสำหรับงานของซีลกลึงเท่านั้น
มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องขนาดความสูงของซีลที่จะนำไปใช้ในร่องชิ้นงานจึงทำให้เลือกขนาดความสูงของซีลผิดความจริงซีลแทบทุกรูปแบบจะออกแบบมาให้มีขนาดความสูงของซีลเล็กกว่าขนาดของร่องชิ้นงาน เพื่อให้มีเนื้อที่ในการขยายตัวของซีลนั้นๆ หลังจากประกอบเข้าในกระบอก หากนำซีลที่มีความสูง เท่าขนาดของชิ้นงานมาใช้ จะทำให้ซีลในกระบอกนั้นไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่วนขนาดที่พอเหมาะสำหรับซีลชนิดต่างๆ จะขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Profile) ของซีลและแรงดัน (Pressure) ที่จะใช้งาน
“หากมีความต้องการที่จะออกแบบชิ้นงานเพื่อใส่ซีล ควรศึกษาคู่มือของซีลให้ละเอียดแล้วกำหนดค่าร่องของชิ้นงานตามคู่มือเท่านั้น ไม่ควรกำหนดค่าร่องของซีลโดยการวัดขนาดจากซีลนั้นๆแล้วเผื่อค่าร่องเอง เพราะเสี่ยงต่อการรั่วที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ผู้ผลิตซีลส่วนใหญ่จะคำนึงถึงแรงเสียดทาน (Friction) ที่เกิดขึ้นในการทำงานของซีล ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความร้อน (Heat) ที่นำมาซึ่งการสึกหรอ (Wear) ของซีล จึงจำเป็นต้องยอมให้มีฟิล์มบางๆเกาะมากับเพลาขณะใช้งาน แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องให้ฟิล์มนั้นมีปริมาณอยู่ในค่าที่กำหนดอาจมีซีลบางประเภทที่มีคุณสมบัติสามารถกันรั่วได้โดยไม่มีฟิล์มเกาะออกมากับเพลา ซึ่งจะต้องผลิตด้วยวัสดุที่ทนทานต่อการสึกหรอสูง
จะเป็นประโยขน์ต่อท่านเจ้าของงานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าท่านเปลี่ยนซีลทั้งกระบอกในคราวเดียว เพราะการถอดประกอบกระบอกแต่ละครั้ง ราคาของซีลต่อชุดที่ต้องเปลี่ยนเมื่อเทียบกับค่าแรงงานในการเปลี่ยน รวมถึงระยะเวลาที่สูญเสียไปในการผลิต (Down Time) แล้ว ราคาซีลต่อชุดจะถูกกว่ามาก
ความจริงแล้ววัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นวัสดุที่ทำมาจากพื้นฐาน (Base) ของวัสดุเดียวกัน เป็นวัสดุที่มีสารหล่อลื่นในตัวเองสูง สามารถทนความร้อนได้ดีแต่มีความยืดหยุ่นต่ำ จึงนิยมนำมาใช้งานร่วมกับวัสดุอื่นที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่า PTFE มีชื่อย่อมาจาก Polytetrafluoroethylene ส่วน Teflon เป็นชื่อเฉพาะทางการค้าของ Dupont เท่านั้น
ซีลยูคัพโดยปกติจะผลิตด้วยวัสดุยูลีโพริเทนซึ่งจะมีค่าการคืนตัวของวัสดุ (Compression Set) ต่ำกว่าวัสดุที่ผลิตจากยาง จึงมีผู้ผลิตซีลบางรายนำวัสดุที่เป็นยางมาใส่ประกอบเข้าในร่องของยูคัพประเภทนี้ เพราะวัสดุที่ผลิตจากยางจะให้้ค่าการคืนตัวของวัสดุ (Compression Set) สูงกว่า จึงมีผลทำให้ Lip ของซีลนั้นสามารถยืดหยุ่นตัวได้สูงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการทำงานช่วงแรงดันต่ำ (Low Pressure) ดีกว่าซีลคัพทั่วไป
ร่องด้านหลังของซีลกันฝุ่นถูกออกแบบมาเพื่อกักน้ำมันที่เป็นฟิล์มที่เกาะออกมากับเพลาขณะใช้งาน ทำให้เพลาแห้งไม่มีฟิล์มของน้ำมันเกาะออกมากับเพลา แต่การใช้งานในลักษณะนี้จะต้องมีรูระบาย (Drain) น้ำมันอยู่ที่ชิ้นงานระหว่างตัวซีลกับน้ำมันซีลกันฝุ่นมิฉะนั้นแล้วจะทำให้เกิดการเก็บกักน้ำมันในระหว่างช่องดังกล่าวจนทำให้เกิดเป็นแรงดันของน้ำมันดันซีลกันฝุ่นหลุดออกจากร่องของชิ้นงานได้ในขณะใช้งาน ในทางกลับกันซีลกันฝุ่นที่ไม่มีร่องด้านหลังก็ไม่จำเป็นต้องมีรูระบาย (Drain) น้ำมัน เพราะฟิล์มของน้ำมันสามารถระบายออกมาเป็นฟิล์มเกาะกับเพลาในขณะใช้งานได้อยู่แล้ว ดังนั้นซีลกันฝุ่นทั้ง 2 รุ่น จึงมีข้อดีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่จะนำไปเลือกใช้
วัสดุที่ใช้ผลิตเทปกันสึกมีด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้ วัสดุที่ผลิตจาก PTFE ผสมด้วย Bronze สามารถใช้ได้ดีกับกระบอกที่ต้องการความเร็วของ Speed ในการใช้งานสูง แต่การรับแรงเบียด (Load) จะไม่สามารถรับได้มากนัก จึงใช้งานได้ดีกับกระบอกที่ติดตั้งใช้งานในแนวตั้งและไม่มีแรงเบียดข้าง (Side Load) เท่านั้น หากต้องการใช้งานในลักษณะงานที่มีแรงเบียดสูง (High Side Load) วัสดุที่ทำจากเนื้อผ้าใบ (Polyester) หรือวัสดุที่ผลิตจาก Phenolic จะใช้งานได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ยังมีแหวนกันสึกที่ผลิตจากวัสดุ POM ซึ่งสามารถทนแรงเบียด (Load) ได้สูงพอสมควร ราคาประหยัด แต่มีจำหน่ายเฉพาะเป็นวงสำเร็จรูปตามขนาดที่กำหนดเท่านั้น ฉะนั้นการเลือกวัสดุของเทปกันสึกจึงต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานรวมถึงอุณหภูมิการใช้งานเป็นหลักสำคัญ
เนื่องจากซีลที่ผลิตจากยางจะมีความยืดหยุ่นตัวสูงกว่าซีลที่ผลิตจากยางผสมผ้าใบ จึงสามารถซีลน้ำมันได้ดีในการทำงานช่วงแรงดันน้ำมันต่ำ (Low Pressure) แต่จะไม่สามารถซีลน้ำมันได้ดีในช่วงของแรงดันน้ำมันขณะทำงาน (Working Pressure) ที่มีแรงดันน้ำมันสูงขึ้น เพราะความแข็งของยางไม่สามารถทนแรงดันสูงได้ จึงต้องมีการประกอบสลับระหว่างยางล้วนกับยาง+ผ้าใบ ซึ่งจะเหมาะกับลักษณะงานที่มีการทำงานของแรงดันน้ำมันที่ไม่คงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันน้ำมันบ่อยๆ ส่วนซีลวีแพ็คกิ้งที่เป็นวัสดุยางผสมผ้าใบทั้งชุดจะมีความแข็งแรงทนทานกว่าหากนำไปใช้กับงานที่มีแรงดันน้ำมันสม่ำเสมอคงที่
ลักษณะ Double Acting ที่มีการออกแบบซีลมาให้ใช้งานทั้ง 2 ด้าน จึงมีการหล่อลื่นของน้ำมันที่เกิดจากแรงดัน (Pressure) ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากซีล Single Acting จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านเดียว แรงดันของน้ำมันจึงมีด้านเดียวผลของการใช้ซีล Double Acting ในงาน Singles Acting จะเห็นได้จากความร้อนที่เกิดขึ้นจาก Lip ของซีลอีกด้านที่ไม่ได้ใช้งานส่งผลให้กระบอกมีความร้อนเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น อายุงานของซีลก็จะสั้นลง จึงควรเลือกซีลให้เหมาะสมกับลักษณะงานจะได้ผลที่คุ้มค่าที่สุด
ไม่ควรนำซีลที่ออกแบบมาสำหรับใช้เฉพาะที่แกนมาใช้งานที่ลูกสูบ เพราะซีลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ที่แกนอย่างเดียวนั้นจะมีการออกแบบให้ Lip ด้านในของตัวซีลมีความแข็งแรงทนทานมากกว่า Lip ด้านนอก เพื่อรับกับลักษณะงานที่จะต้องมีการเคลื่อนที่และเสียดสีกับเพลา แต่ Lip ด้านนอกของซีลออกแบบมาเพื่ออยู่ในร่องของชิ้นงานที่จะรับแรงดัน (Pressure) เท่านั้นไม่มีการเสียดสีหรือการเคลื่อนที่ระหว่างการใช้งาน ฉะนั้นหากท่านนำซีลที่ไม่ตรงกับลักษณะงาน (Application) มาใช้ซีลก็จะไม่สามารถใช้งานได้นานเท่าที่ควรจะเป็น

ซีลนิวเมติค

ในระยะหลังนี้เราจะสามารถพบเห็นซีลของกระบอกนิวเมติคที่ทำจากวัสดุโพลียูริเทนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หาก สังเกตให้ดีจะพบว่าความแข็งแรงของวัสดุโพลียูริเทนที่ใช้ผลิตซีลนิวเมติคจะมีความแข็งน้อยกว่าวัสดุโพลียูริเทน ที่ใช้ผลิตซีลไฮดรอลิค ซึ่งโดยทั่วไปความแข็งของทั้งโพลียูรีเทนและยางที่ใช้ผลิตซีลนิวเมติคจะมีความแข็งอยู่ที่ ประมาณ 70-75 shore A เหตุผลหลักของการนิยมใช้วัสดุโพลียูรีเทนในการผลิตซีลนิวเมติคมากขึ้น เพราะวัสดุโพลียูริเทนมีความทนทานต่อการสึกหรอ (Wear Resistant) มากกว่ายางนั่นเอง ซึ่งหากใช้ยางในการผลิตซีลนิวเมติคก็ควรจะเป็นยางที่ผสมสารหล่อลื่นในตัว (Self Lubrication) เพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน (Friction)
ซีลคุชชั่น (Cushion) มีไว้เพื่อชะลอหรือหยุดลูกสูบที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไม่ให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงกับฝากระบอก ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีซีลคุชชั่นไว้ในกระบอกนิวเมติคเพื่อความนุ่มนวลในการทำงานของกระบอกนิวเมติค
เป็นการเข้าใจผิดว่าว่าซีลที่ประกอบอยู่ปลายกระบอกนิวเมติคเป็นซีลกันฝุ่นเพียงอย่างเดียวที่จริงแล้วซีลที่มีลักษณะเหมือนซีลกันฝุ่นที่อยู่ที่ปลายกระบอกนิวเมติคจะมีส่วนของ Lip ด้านในที่สามารถทำหน้าที่ในการกัน Pressure ได้ด้วย เป็นซีลที่ทำหน้าที่ทั้งเป็นซีลกัน Pressure และเป็นทั้งซีลกันฝุ่นด้วยในตัวเดียวกัน
ในระบบนิวเมติคโดยทั่วไปจะไม่มีระบบหล่อลื่นที่สมบูรณ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้วัสดุที่ทนต่อการเสียดสีได้ดีและมีการหล่อลื่นได้ด้วยตัวเอง (Self Lubrication) ดังนั้นซีลทุกตัวรวมถึงตัวประคองที่จะนำมาใช้ในกระบอกนิวเมติคจึงควรเลือกใช้วัสดุที่มีสารหล่อลื่นผสมอยู่ในวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น PTFE ผสม Carbon หรือ PE จะช่วยยืดอายุของซีลและตัวประคองให้ยาวนานขึ้นอีกมาก
ซีลนิวเมติคและซีลไฮดรอลิคดูจากภายนอกอาจมีลักษณะเหมือนกัน แต่ที่จริงแล้ววัสดุที่ใช้ผลิตจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะความแข็งของวัสดุที่ใช้ผลิตจะมีความแข็งที่แตกต่างกัน ซีลนิวเมติคจะมีความแข็งน้อยกว่าซีลไฮดรอลิคและจะผสมสารหล่อลื่นในวัสดุที่ใช้ในการผลิตซีลเมติคด้วย หากเรานำซีลไฮดรอลิคมาใช้งานนิวเมติค จะทำให้ซีลเกิดการสึกหรอเร็วและไม่ทนทานเท่าที่ควรจะเป็น

โอริง

ในอดีตมีการนำโอริงมาใช้เป็นซีลที่ลูกสูบและที่แกน เพื่อนำไปใช้งานในลักษณะเคลื่อนที่ค่อนข้างมาก เพราะสามารถหาซื้อทั่วไปได้สะดวก สามารถหาอะไหล่ทดแทนได้ง่ายและมีราคาถูก แต่ปัญหาที่ตามมาคือ โอริงที่ประกอบอยู่ในร่องของชิ้นงาน เมื่อนำมาใช้งานแล้วจะเกิดการม้วนตัว (Twisted) เพราะมีการเสียดสีไปมาระหว่างผิวของชิ้นงานกับตัวโอริงจึงทำให้โอริงชำรุดฉีกขาดได้ ระยะหลังจึงนิยมใช้ซีลกับงานลักษณะเคลื่อนที่แทนโอริง
เครื่องจักรต่างๆ ที่นำเข้ามาใช้งานในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่หลากหลาย หากเราทราบประเทศหรือโซนที่ผลิตเครื่องจักรนั้นๆ ก็จะสามารถทราบถึงขนาดที่เป็นมาตรฐานของโอริงในเครื่องจักรเหล่านั้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับความสะดวกและราคา ซึ่งเป็นปัจจัยให้ผู้ผลิตเครื่องจักรต้องคำนึงถึงด้วย มาตรฐานโดยมากที่นิยมใช้คือมาตรฐานอเมริกัน (American Standard) โดยมีชื่อย่อว่า AS Series อีกมาตรฐานที่นิยมใช้คือ มาตรฐานญี่ปุ่น (Japanese Standard) มีชื่อย่อว่า JIS Series ซึ่งท่านสามารถหาข้อมูลของขนาดต่างๆ เพิ่มเติมได้จากหนังสือ O-Ring Handbook ของสเป็คซีล
โดยทั่วไปเราสามารถพบเห็นโอริงที่มีความแข็ง 70 shore A มีใช้งานโดยทั่วไป แต่ในระบบไฮดรอลิคที่มีแรงดัน (Pressure) สูงเกินกว่า 100 Bar เราควรเลือกใช้โอริงที่มีความแข็ง 90 shore A เพราะสามารถทนแรงดันได้มากกว่า โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องลดขนาดของช่องว่างระหว่างชิ้นงาน ซึ่งควบคุมขนาดของชิ้นงานให้ได้ตามพิกัดได้ยาก
ยางที่ใช้ในการผลิตโอริงอาจมีชื่อเรียกที่เหมือนกันแต่กรรมวิธีในการผลิต รวมถึงส่วนผสมที่ใช้ ผสมกับยาง เพื่อใช้ผลิตโอริงจะมีสูตรในการผลิตแตกต่างกันไป จึงทำให้คุณสมบัติต่างๆ รวมถึงค่าการคืนตัวของเนื้อยาง (Compression Set) มีความแตกต่างกัน ดังนั้นโอริงที่มีการคืนตัวของเนื้อยางที่ดีเมื่อใช้งานไปแล้วและนำออก มาจากร่องชิ้นงานจะมีเปอร์เซ็นต์ในการคืนตัวของเนื้อยางสูง จึงทำให้ยังสามารถคงรูปร่างทรงกลมได้ค่อนข้างดี ซึ่งผิดกับยางที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การคืนตัวของเนื้อยางต่ำ ยางก็จะเปลี่ยนรูปร่างไปตามลักษณะของร่องที่ใช้งานอยู่
ยางทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันเพียงแต่ชื่อ Fluorocarbon หรือที่มีชื่อย่อว่า FPM จะเป็นชื่อที่ใช้เรียกโดยทั่วไป แต่ชื่อ Viton จะเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของ Dupont โดยผู้ที่จะใช้ชื่อ Viton ได้ จะต้องใช้วัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นๆ เฉพาะของ Dupont เท่านั้น
ก่อนอื่นคงจะต้องตรวจสอบความร้อนที่ใช้อยู่โดยใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ เช่นใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดในน้ำมันว่ามีอุณหภูมิเท่าไร อย่าใช้วิธีคาดคะเนโดยใช้ความรู้สึกวัด เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ยางทุกชนิดมีข้อดีและมีข้อเสียอยู่ในตัวด้วย เช่น ยาง Fluorocarbon หรือ Viton สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 230°C ถึงแม้จะทนความร้อนได้สูง แต่จะมีค่าการคืนตัวของเนื้อยาง (Compression Set) ที่ค่อนข้างต่ำ หากเรานำไปใช้งานในที่ี่ไม่ได้มีความร้อนเท่าที่จะต้องใช้ยางประเภทนี้จะทำให้เราไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเนื้อยางได้เต็มที่ อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยอีกด้วย
โดยทั่วไปลักษณะของโอริงควรจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน ทั้งนี้เพื่อให้โอริงมีพื้นที่ในการขยายตัวเมื่อมีการกดทับของชิ้นงาน ส่วนขนาดที่ถูกต้องของร่องชิ้นงานเมื่อเทียบกับความหนาของโอริงควรตรวจสอบหรือดูข้อมูลจาก O-Ring Handbook ของสเป็คซีล เพราะขนาดต่างๆ จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

ซีลเพลาหมุน

การใช้งานของออยล์ซีลที่ใช้กันน้ำมันที่เพลาหมุนจะมีทั้งแบบลิปเดียวและสองลิป โดยลักษณะงานที่ใช้จะแตกต่างกันคือ ออยล์ซีลที่มีสองลิป จะมีลิปด้านนอกเพื่อทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เ้ข้าไปในระบบที่ใช้งาน จะใช้ได้ดีกับงานที่มีฝุ่นละอองมาก เช่น เครื่องจักรที่จะต้องทำงานกลางแจ้งอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อเสียของออยล์ซีลสองลิป คือ หลังจากมีการใช้งานไปแล้ว ลิปที่ใช้กันฝุ่นของออยล์ซีลชนิดนี้ควรต้องมีการหล่อลื่นอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นเพลากับลิปที่ใช้กันฝุ่นนี้จะเสียดสีกันโดยตรงทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และเป็นสาเหตุของการสึกหรอของทั้งซีลและเพลา ส่วนออยล์ซีลที่มีลิปเดียวนั้นสามารถใช้งานได้ในลักษณะเดียวกัน แต่จะใช้ได้ดีในที่ร่มปราศจากฝุ่นละอองหรืออยู่ภายในเครื่องจักรเท่านั้น
โดยมากเราจะประกอบวีริงไว้ด้านนอกสุดต่อจากออยล์ซีลหรือตลับลูกปืน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองหรือละอองน้ำไม่ให้เข้าไปในระบบ วีริงจะรัดติดกับเพลาตลอดเวลาและหมุนไปพร้อมกับเพลาขณะทำงาน ลิปของวีริงจะทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นและน้ำ โดยจะหมุนสัมผัสไปกับแผ่นเหล็กจึงไม่เกิดการสึกหรอขึ้นที่เพลา
ออยล์ซีลที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปสามารถทนแรงดัน (Pressure) ได้ที่ 0.5 Bar ซึ่งเพียงพอสำหรับงานลักษณะเพลาหมุนโดยทั่วไป แต่ก็จะมีออยล์ซีลที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับงานที่ต้องการทนแรงดันสูงกว่านี้โดยเฉพาะ ทั้งนี้จะต้องระบุกับทางผู้จำหน่ายให้ชัดเจนถึงลักษณะการใช้งานก่อนการทำการสั่งซื้อ
รอยสึกรอบเพลาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการสึกหรอของเพลาที่จะต้องเสียดสีกับลิปของซีลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แนวทางการแก้ไขคือ ในช่วงแรกอาจจะใช้ออยล์ซีลที่มีความหนาน้อยลงเพื่อเปลี่ยนจุดสัมผัสของลิปของซีลและเพลา จะทำให้จุดที่ออยล์ซีลสัมผัสกับเพลาเป็นจุดใหม่ที่ไม่มีรอยสึกหรอมาก่อน หลังจากที่มีการเปลี่ยนจุดสัมผัสแล้วหลายครั้ง อาจต้องมีการซ่อมแซมเพลาซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลายวัน แต่มีอีกวิธีซึ่งประหยัดกว่ากันมากคือ ใช้ปลอกสเตนเลส (Stainless Sleeve) ซึ่งมีขายสำเร็จมาสวมเข้าเพื่อซ่อมรอยสึกหรอดังกล่าว ซึ่งสามารถปรึกษาสเป็คซีลได้เรื่องปลอกสเตนเลสนี้ ซึ่งท่านจะเสียเวลาซ่อมเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
มีหลายท่านที่นำเอาออยล์ซีลสองลิปไปใช้งานเป็นซีลกันฝุ่นของกระบอกไฮดรอลิค แต่ออยล์ซีลไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในลักาณะเพลาชัก (Reciprocating motion) ความทนทานของการใช้งานรวมถึงประสิทธิภาพการใช้งานจึงสู้ซีลกันฝุ่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานเพลาชักโดยเฉพาะไม่ได้
ลักษณะการใช้งานของออยล์ซีลที่ผลิตจากวัสดุ Fluorocarbon โดยมากจะนิยมใช้อยู่ 2 กรณี คือ ใช้กับงานที่มีความร้อนหรือใช้กันของเหลวที่เป็นเคมี ทั้ง 2 ลักษณะงานนี้สามารถใช้ได้กับออยล์ซีลที่มียางหุ้มด้านในทั้งหมด แต่ออยล์ซีลที่มียางหุ้มด้านในไม่หมดยังเห็นเหล็กอยู่บ้าง สามารถใช้ได้กับงานที่มีความร้อนแต่ไม่สามารถนำมาใช้งานกันของเหลวที่เป็นเคมีได้ เพราะเคมีอาจจะไปทำปฏิกิริยากับเหล็กที่ยางหุ้มไว้ไม่หมด
สปริงที่ใช้รัดที่ลิปของออยล์ซีลจุดประสงค์เพื่อให้มีแรงกดระหว่างลิปของซีลกับเพลามากขึ้น จุดประสงค์เพื่อใช้กันของเหลวที่สามารถไหลออกมาตามเพลาได้ง่าย แต่ออยล์ซีลที่ไม่มีสปริงรัดจะใช้กับงานที่ไม่ต้องการแรงกดมากจุดประสงค์เพื่อใช้กันจาระบีโดยเฉพาะ